บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2018

กระทรวงการคลัง

รูปภาพ
กระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง  เป็นต้นสังกัดของมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บ ภาษี  ได้แก่  กรมสรรพากร ,  กรมศุลกากร , และ กรมสรรพสามิต  โดยปัจจุบันมี  นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง          กรมสรรพากร   (กรม-สัน-พา-กอน)  เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัด กระทรวงการคลัง   กรมสรรพากรทำหน้าที่จัดเก็บภาษีตาม ประมวลรัษฎากร   ได้แก่   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ,   ภาษีเงินได้นิติบุคคล ,   ภาษีมูลค่าเพิ่ม ,   ภาษีธุรกิจเฉพาะ   และ   อากรแสตมป์   รวมถึงจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และ ภาษีมรดก กรมศุลกากร   (กรม-สุน-ละ-กา-กอน)  เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักในการจัดเก็บภาษีศุลกากรทั้งอากรขาเข้า อากรขาออก และค่าธรรมเนียมต่างๆ ในบางกรณีอาจต้องเก็บภาษีแทน กรมสรรพากร   กรมสรรพสามิต  และกระทรวงมหาดไทยให้ด้วย กรมสรรพสามิต   (กรม-สับ-พะ-สา-มิด)  เป็นหน่วยงานราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่จัดเก็บ ภาษีสรรพสามิต Link: กระทรวงการคลัง ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.itax.in.th/pedia/%E0%B8%81%E0%B

กระทรวงพาณิชย์

รูปภาพ
กระทรวงพาณิชย์ หน้าที่กระทรวงพาณิชย์           มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์ บทบาทหลัก ภารกิจด้านในประเทศ การดูแลราคาสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกร  ดูแลผู้บริโภคภายใต้กรอบกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งการค้าสินค้าและธุรกิจบริการ คุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา       2.ภารกิจด้านต่างประเทศ เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการเจรจาภายใต้กรอบ WTO FTA อนุภูมิภาคและภูมิภาค  จัดระเบียบการบริหารการนำเข้าและส่งออก รวมทั้งการค้าข้าวรัฐต่อรัฐ การค้ามันสำปะหลัง สินค้าข้อตกลงต่างๆ แก้ไขปัญหาและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า เช่น การดูแลเรื่อง GSP การเก็บภาษีตอบโต้ การโต้ตลาด ส่งเสริมและเร่งรัดการส่งออก Link: กระทรวงพาณิชย์

สืบค้นข้อมูลเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย - TDC - ThaiLIS

รูปภาพ
สืบค้นข้อมูลเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย - TDC - ThaiLIS           TDC หรือ Thai Digital Collection เป็นโครงการหนึ่งของ ThaiLIS มีเป้าหมายเพื่อให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเต็มของ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์ รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ในการเข้าใช้บริการนั้นจะต้องเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องสมุดสมาชิก ดูรายละเอียดห้องสมุดสมาชิก ได้จากทางเลือกมหาวิทยาลัย/สถาบัน  การดำเนินการในปัจจุบันได้ดำเนินการ migrate ข้อมูลจากระบบเดิม เข้าสู่ระบบใหม่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้มีการจัดอบรมการใช้งาน การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบให้กับสมาชิกใหม่ เช่น มหาวิทยาลัยเอกชน หน่วยงานอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้และต้องการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ ให้สังคม เพื่อให้สังคมได้นำความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้เดิม และพัฒนาประเทศต่อไป  Link: สืบค้นข้อมูลเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย - TDC - ThaiLIS

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

รูปภาพ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย     ตลาดทุนไทยยุคใหม่มีจุดเริ่มต้นจากการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) เพื่อรองรับการเติบโตและส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ต่อมา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514) ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบระเบียบขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเน้นให้มีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งระดมเงินทุน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ  พัฒนาการของตลาดทุนของไทยในยุคใหม่นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค เริ่มจาก "ตลาดหุ้นกรุงเทพ" (Bangkok Stock Exchange) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และต่อมาเป็น "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" ภายใต้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Securities Exchange of Thailand" การจัดตั้งตลาดหุ้นกรุงเทพ การจัดตั้งตลาดหุ้นของไทยเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2505 ในรูปห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยในปีต่อมาได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดและเปลี่ยนชื่อเป็น "ตลาดหุ้นกรุงเทพ" (Bangkok Stock Exchange)  ถึงแม้ว่าจะมีพื้นฐานในการจัดตั้งที่ด

สำนักงานสถิติแห่งชาติ

รูปภาพ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ          สำนักงานสถิติแห่งชาติ  ( อังกฤษ :  National Statistical Office ) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  มีภารกิจในฐานะเป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ และจัดทำสถิติเพื่อติดตามประเมินผลและสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายและแผนงานของรัฐ Link: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

รูปภาพ
ธนาคารแห่งประเทศไทย ​บทบาทหน้าที่ ธปท.  ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 1.  ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร เป็นผู้ออกธนบัตรของรัฐบาล ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเงินตรา และมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะออกบัตรธนาคารในราชอาณาจักร  2.  กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน ดำเนินนโยบายการเงินตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด  ได้แก่  รับเงินฝาก  กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน  ซื้อขายเงินตราต่างประเทศและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต  กู้ยืมเงินตราต่างประเทศเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งค่าของเงินตรา  กู้ยืมเงินเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน  ซื้อขายหลักทรัพย์เท่าที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ รวมถึงยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ตามที่กำหนดโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน 3.  บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. (ไม่รวมสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา)  การนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์ โดยคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง  ผลประโย

The World Bank

รูปภาพ
The world Bank           ธนาคารโลก หรือ World Bank  คือ ธนาคารที่จัดตั้งขึ้นมาหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยเหลือประเทศที่เป็นสมาชิกด้วยการให้กู้เงินในระยะยาวเพื่อนำไปใช้ฟื้นฟูประเทศที่เสียหายจากสงคราม ธนาคารโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ที่เบร็ตตันวูดส์ (Bretton Woods) รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นด้วยสมาชิก 38 ประเทศ ในปัจจุบันธนาคารโลก มีประเทศสมาชิกอยู่ทั้งหมด 188 ประเทศ หน้าที่ของธนาคารโลก หน้าที่ของธนาคารโลก โดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศของสมาชิก ให้กู้ยืมเงิน การให้กู้ยืมของธนาคารโลก จะเป็นการให้กู้เงินในระยะยาวและมีดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยที่เงินก้อนดังกล่าวมีเงื่อนไข คือ ต้องนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ตอนที่กู้ เช่น นำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งการค้ำประกันเงินกู้ให้กับประเทศสมาชิก จะทำให้สมาชิกมีต้นทุนในการกู้เงินที่ต่ำ (ดอกเบี้ยต่ำ) เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้ เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาประเทศของตนเอง รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับประเทศสมาชิก เป้

The Center for Library Resources and Educational Media

รูปภาพ
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ความเป็นมา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้จัดตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยแบ่งส่วนงานออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารงานทั่วไปและธุรการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา และฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา โดยมีประวัติความเป็นมา ดังนี้ เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี 2539 ณ ศูนย์ประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์กรุงเทพมหานคร ในปี 2541 ได้เปิดให้บริการพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ห้องสมุดและให้บริการด้านการผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา ณ อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา โดยนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS มาใช้ปฏิบัติงานและให้บริการผู้ใช้ ปัจจุบันศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษานำระบบ WALAI AUTOlib มาใช้ในการปฏิบัติงานและให้บริการแก่โสตทัศนูปกรณ์แก่หน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัย LIBRARY HOURS DURING TRIMESTERS Monday - Friday duration 8:30 AM. - 09:00 PM. Saturday - Sunday duration 10:00 AM. - 6:00 PM. 3 WEEKS BEFORE AND DURIN